วิทยากร: ผศ.น.พ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณแอ๊ม สรณ์สิริ ธันวานนท์ จากร้าน Bouquet floral studio (สอนประดิษฐ์การ์ดดอกไม้แห้ง)
เปลี่ยนเศร้าเป็นสุข ใช้ชีวิตให้สนุกอยู่กับปัจจุบัน
ในเมื่อปี 2564 ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” เพราะจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดแล้ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุ จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพกายใจ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ผู้สูงวัยเป็นผู้สูงวัยที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสภาวะทางด้านอารมณ์ เนื่องจากในผู้สูงวัยจะเกิดหรือภาวะซึมเศร้าได้ง่ายมากขึ้น และเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย
ซึ่ง ผศ.น.พ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บอกเล่าถึงวิธีในการเปลี่ยนแปลงความเศร้า ให้กลายเป็นความสุข ในหัวข้อ “เศร้าแล้วเปลี่ยน” ที่ผู้สูงอายุ หรือลูกหลาน รวมทั้งผู้ที่รู้สึกว่าตนเองอาจอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าว สามารถสังเกตตัวเองได้ในเบื้องต้น พร้อมทั้งประเมินอาการของโรคแบบคร่าว ๆ ก่อนเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง
ซึ่ง คุณหมอภุชงค์ กล่าวว่า... เพราะสถานการณ์ที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน อาจก่อให้เกิดความรู้สึกเศร้าได้มากกว่าสุข โรคซึมเศร้าจึงเข้าถึงทุกเพศทุกวัยได้ง่ายมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุบางราย เมื่อเจอกับตัวแปรที่มากมายก็อาจก่อให้เกิดความเศร้าได้ง่ายขึ้น ผนวกกับการทำงานของสมองทางด้านอารมณ์ ที่ไม่สามารถสร้างอารมณ์บวกได้ จึงทำมีความสุขยากขึ้น รู้สึกเบื่อ จนถึงไม่อยากมีชีวิตอยู่ และเมื่อเกิดขึ้นต่อเนื่องเกินกว่า 2 สัปดาห์ อาการที่ตามมา ก็คืออาจเริ่มรู้สึกไม่มีแรง เซื่องซึม นอนหลับยาก หรือรับประทานอาหารไม่อร่อยเหมือนเก่า ซึ่งนอกจากปัจจัยภายนอกที่มาจากร่างกายที่ไม่สามารถทำอะไร ๆ อย่างที่ใจต้องการได้เหมือนก่อน ก็อาจเป็นผลมาจาการหลั่งสารในสมองที่ผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อร่างกายด้วยนั่นเอง
หรืออาจมีสาเหตุอาจจากความเครียด สิ่งกระตุ้นเร้า ปัญหาชีวิต หรืออาจมาจากกรรมพันธุ์ สารพิษจากอาหารที่กิน หรือมลภาวะต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งในผู้ป่วยแต่ละรายก็ไม่เหมือนกัน ในบางรายอาจไม่มีภาวะเครียดเลย แต่โรคก็กลับเกิดขึ้นได้เอง หรือในบางรายอาจเกิดจากโรคทางกายที่ส่งผลตรงต่อฮอร์โมนโดยตรง รวมทั้งอาจมาจากยาบางชนิดที่รับประทานเพื่อรักษาโรคบางโรคด้วย ซึ่งก็อาจจะก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน
ซึ่งทางด้านของการรักษาในผู้ป่วยบางรายอาจไม่ยอมมาพบแพทย์ เพราะรู้สึกหมดหวัง หรือไม่มีทางรักษาหาย ซึ่งญาติหรือคนใกล้ชิดควรต้องให้ความช่วยเหลือในจุดนี้ โดยการพาไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหรือทำการวินิจฉัยอาการ เพราบางรายเพียงแค่ได้รับประทานยาและปรับการหลั่งสารในสมอง ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ไม่ยาก
โดยผู้ที่ต้องการทดลองวิเคราะห์ความเสี่ยงเบื้องต้น ก็สามารถทำการทดสอบได้ด้วยตนเอง โดยกรอกแบบสอบถามตามลิงก์นี้ http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html แต่คุณหมอก็ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ผู้ที่มีคะแนนสูงคือเป็นผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่เป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งไม่ระบุผลที่แน่นอน เพียงแต่หากผู้ที่ทำการทดสอบเอง รู้สึกว่ามีอาการป่วยนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็ควรจะรีบไปพบหรือปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอาการโดยแพทย์เฉพาะทางอีกครั้งหนึ่ง หรือจะติดต่อโดยตรงไปที่กรมส่งเสริมสุขภาพจิตก็ได้
ซึ่งขั้นตอนในการรักษาตนเบื้องต้น คุณหมอภุชงค์ กล่าวว่า... เมื่อรู้สึกว่าชีวิตไม่มีความสุข ก็ควรสังเกตดูว่าความทุกข์นั้นว่าเกิดขึ้นจากตัวเราหรือไม่ เพราะถ้าเกิดจากคนอื่น ก็อาจจะไม่ใช่อาการของโรค แต่เป็นสาเหตุจากปัญหาชีวิตมากกว่า ดังนั้นจึงควรทบทวนตัวเองให้ดีก่อน หรือพยายามหาอะไรก็ตามที่ทำแล้วมีความสุขแทน โดยพยายามปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้เป็นไปในทางบวกมากขึ้น แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือยังรู้สึกได้ถึงความผิดปกติบางอย่างอยู่ ก็ควรเข้ารับการรักษา หรือขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแบบตรงไปตรงมาจะดีกว่า เพราะในบางรายที่มาปรึกษา บางครั้งพอคิดหาวิธีแก้ปัญหาได้ก็หมดความกังวลไปเองโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่ในบางรายพอได้รับประทานยาก็หายขาดได้เช่นกัน ดังนั้นคุณหมอจะต้องทำการวินิจฉัยเป็นราย ๆ ไป แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการพูดคุยในการรักษามากกว่าโรคชนิดอื่น เพราะอาจเป็นผลมาจากการทำงานของเคมีในสมองโดยตรงก็ได้
ซึ่งคุณหมอภุชงค์ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า... อยากให้ทุกคนใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยพยายามไม่ใช้ชีวิตให้ซับซ้อนจนเกินไป อย่าเครียด หรือคิดมากกับชีวิตจนเกินไปนัก และที่สำคัญ ควรใช้ชีวิตและแก้ปัญหาให้เป็นไปตามปกติ และมองว่าชีวิตคือความไม่แน่นอน ดังนั้นก็ควรเลือกหาอะไรที่ทำให้ตนเองมีความสุขจะดีกว่า
และนอกจากความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยแล้ว วันนี้... ห้องเรียนสูงวัย กายใจ Young Sook จึงมีกิจกรรมดี ๆ ที่จะช่วยสร้างความสุข ความเพลิดเพลิน และสร้างสรรค์ไอเดียทางด้านศิลปะ ที่จะสามารถต่อยอดในการส่งความสุขให้กับคนอื่น ๆ รอบตัว เพื่อเป็นของขวัญแทนใจในช่วงเทศกาลปีใหม่แบบนี้ ด้วยการทำการ์ด D.I.Y. ที่ประดิษฐ์จากดอกไม้แห้งได้ โดย คุณแอ๊ม สรณ์สิริ ธันวานนท์ จากร้าน Bouquet floral studio ได้มาทำหน้าที่วิทยากรเพื่อช่วยแนะนำวิธีการประดิษฐ์ ด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ ดังนี้
อุปกรณ์
กระดาษวาดเขียน หรือกระดาษแข็ง (เพื่อให้อยู่ทรง) ตามขนาดที่ต้องการ สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส
กรรไกรสำหรับตัดดอกไม้ หรือกรรไกรธรรมดา
สก๊อตเทปใส หรือกระดาษกาว 2 หน้า เพื่อยึดติดติดช่อดอกไม้กับตัวการ์ด
ดอกไม้แห้ง ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีขนาดเล็ก ๆ เช่น แคสเปียร์, ยิปซี, ยิปโซ (ผึ่งลมจนแห้งดี)
ริบบิ้น ปากกาสี หรือสติ๊กเกอร์เพื่อตกแต่ง
กระดาษไขบาง ๆ สำหรับห่อช่อดอกไม้แห้งเล็ก
วิธีการ
นำกระดาษมาตัด และพับครึ่งให้เป็นการ์ด ตามรูปแบบที่ต้อการ
เลือกดอกไม้ที่ชอบ กี่สีก็ได้ วางซ้อนกัน แบบสูงต่ำไม่ต้องเท่ากันก็ได้ เรื่อย ๆ จนได้ช่อตามต้องการ
ตัดก้านให้มีขนาดพอดีกับการ์ด แล้วนำสก๊อตเทปมาพันรอบก้านเพื่อยึดให้ติดกัน
ตัดกระดาษห่อ วางดอกไม้ลงแล้วห่อแบบง่ายๆ ให้เป็นช่อ จากนั้นพันด้วยสก๊อตเทปอีกครั้ง แล้วแปะลงบนตัวการ์ด
ตกแต่งการ์ดด้วยความคิดสร้างสรรค์ตามต้องการ พร้อมส่งต่อความสุข
////////////////////////////////////////////////////
บทความ: โดย บริษัท ออลไรท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
Comments